แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ กลุ่มสาระภาษาไทย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.พูดเล่าเรื่องได้(เล่านิทานกะเหรี่ยง)
2.ลำดับเรื่องที่เล่าได้

เนื้อหาสาระ
1. ความหมายของการพูดเล่าเรื่อง
2. หลักการพูดเล่าเรื่อง
3. มารยาทในการพูดเล่าเรื่อง

กระบวนการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
ขั้นสอน
1.ศึกษาใบความรู้เรื่อง หลักการพูด
2.สนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการพูดเล่าเรื่อง ต้องลำดับเนื้อเรื่องไม่ให้สับสน ใช้กิริย่าท่าทางประกอบให้เหมาะสม เลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับเรื่อง
3.แบ่งกลุ่ม 9 กลุ่ม ส่งตัวแทนออกมาเล่านิทานกะเหรี่ยง กลุ่มละ 1 เรื่องไม่ให้ซ้ำกันกลุ่มละ 5 -8 นาที
4.เมื่อครบทุกกลุ่มแล้ว ครูนักเรียนร่วมกันเสนอแนะ วิจารณ์การพูดของแต่ละกลุ่ม
5.จดบันทึกสรุปความรู้การพูดเล่าเรื่อง

ขั้นสรุป
1.นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
การประเมินผล
1. สังเกตจากการเล่าเรื่อง
2. ทดสอบก่อนและหลังเรียน

สื่อการเรียนรู้
1. สื่อบุคคล
-วิทยากรท้องถิ่น
-ภูมิปัญญาชาวบ้าน
2. สื่อสถานที่
-หมู่บ้านกะเหรี่ยง
3. สื่อวัสดุ/เอกสาร
-แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
4. สื่อ ICT
-แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและศึกษาสมุนไพรชาวกะเหรี่ยงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
2. นักเรียนสร้างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรได้อย่างน้อย 1 ชนิด

เนื้อหาสาระ
1. สมุนไพรชาวกะเหรี่ยง
2. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสมุนไพร

กระบวนการเรียนรู้

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
2. ครูนำพืชสมุนไพรบางชนิดมาให้นักเรียนศึกษา
3. นักเรียนช่วยกันแยกพืชสมุนไพรออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยจัดเป็นกลุ่ม ๆ ของพืชสมุนไพร
4.สุ่มนักเรียน 5 คนในห้องออกมาอภิปรายเกี่ยวกับประโยชน์ของพืชสมุนไพร

ขั้นกิจกรรม
1. นักเรียนแบ่งกลุ่มละ4 คน เพื่อศึกษาพืชสมุนไพรในหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่ตนอาศัยอยู่อย่างน้อยกลุ่มละ 20 ชนิด
2. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพืชสมุนไพรจากห้องสมุดหรือทางอินเตอร์เน็ต
3. นักเรียนทุกกลุ่มนำเสนอผลงานจากการศึกษาและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพืชสมุนไพรหน้าชั้นเรียน
4. นักเรียนทุกกลุ่มนำเสนอผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรกลุ่มละ 1 ชนิด
5. นักเรียนชมผลงานผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรจากกลุ่มอื่น ๆ

ขั้นสรุป
1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันของชาวกะเหรี่ยง
2. นักเรียนแสดงผลงานผลิตภัณฑ์ของพืชสมุนไพรกลุ่มละ 1 ชนิด

แหล่งการเรียนรู้
1. สือบุคคล
-ชาวกะเหรี่ยงในอำเภอสวนผึ้ง
2. สื่อเอกสาร
-หนังสือพืชสมุนไพร
-แบบสอบถามเกี่ยวกับพืชสมุนไพร
-เครื่องมือประเมินผล
3. สื่อสถานที่
-หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง
-หมู่บ้านนักเรียนที่มีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่
-ศูนย์ศึกษาพันธุ์ไม้ป่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
4. สื่อ ICT
-ห้องอินเตอร์เน็ตในโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. ห้องอินเตอร์เน็ตในโรงเรียน

วัดและประเมินผล
1. สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
2. สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
3. การทำแบบทดสอบ
4. การสร้างผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพร

แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชาวกระเหรี่ยง
2. สำรวจข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจ วิถีชีวิต ชาวกระเหรี่ยงท้องถิ่นได้
3. อธิบายรายละเอียดขั้นตอนการปฎิบัติตามประเพณีที่สำคัญได้
4. สำรวจความเชื่อในชุมชนกะเหรี่ยงได้
สาระการเรียนรู้
1. ประวัติความเป็นมาของชาวกะเหรี่ยง
2. หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงในปัจจุบัน
3. ประเพณีศิลปวัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยง
4. ความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง

กระบวนการเรียนรู้
ขั้นนำ
ชวนนักเรียนสนทนาและตอบคำถามเรื่องชาวเขาในประเทศไทยว่ามีกลุ่มใดบ้าง แล้วให้นักเรียนทบทวนและตอบคำถามต่อไปนี้
-ชาวเขากลุ่มใดมีมากที่สุดในประเทศไทย
-จังหวัดราชบุรีมีชาวเขาหรือไม่
-ชาวกระเหรี่ยงที่สวนผึ้งเป็นชาวเขาหรือไม่
ขั้นสอน
1.แบ่งกลุ่มนักเรียนเลือกหัวข้อเรื่อง ศิลปวัฒนธรรมประเพณีชาวกระเหรี่ยงดังตัวอย่างละ1เรื่อง
-ประวัติความเป็นมาของกระเหรี่ยง
-ประเพณีที่สำคัญ
-สำรวจชุมชนหมู่บ้านกระเหรี่ยง
-วิถีชีวิต
-พิธีรับขวัญวันกินข้าวห่อ
-ความเชื่อ
2.แจกใบความรู้เรื่อง การศึกษาสำรวจโดยใช้วิธีโครงงาน
3.ครูให้แนวคิดรู้เรื่องการศึกษาโครงงานและดำเนินงานกลุ่มก่อนลงภาคสนาม(ใบความรู้เรื่องหลักการสัมภาษณ์ การสำรวจข้อมูล การเก็บข้อมูล)
4.ให้นักเรียนเตรียมวางแผนไปศึกษาข้อมูลแบ่งงานและเตรียมเสนอแผนการดำเนินงานโดยใช้ผังความคิด
5.นักเรียนออกสำรวจพื้นที่เก็บข้อมูลวันหยุดเสาร์-อาทิตย์และสรุปวิเคราะห์ข้อมูล
6.นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมพาเวอร์พอย์ด รายงานโครงงานแผ่นพับ
7.ครูเพิ่มเติมและกล่าวชื่นชมผลงานนักเรียน
8.ประเมินผลโดยให้เพื่อนให้คะแนนกลุ่มอื่นๆและสมาชิกประเมินกลุ่มตนเอง ครูประเมินผลงานกลุ่ม
ขั้นสรุป
สนทนานักเรียนเรื่องรู้จักชุมชนชาวกระเหรี่ยงมากขึ้นหรือยังครูสรุปให้นักเรียนเข้าใจตรงกันว่าชาวกระเหรี่ยงก็เป็นคนไทย แต่มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนเองสมควรที่เราจะได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันและกัน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1.ใบความรู้เรื่อง การศึกษาโดยวิธีโครงงาน
2.ใบความรู้เรื่อง หลักการสัมภาษณ์
3.แหล่งเรียนรู้ชุมนุมกระเหรี่ยง 6 หมู่บ้าน
4.บุคลแห่งการเรียนรู้ในชุมชนสวนผึ้ง
การประเมินผลการเรียนรู้
1.สิ่งที่ประเมิน
-ความรู้เรื่อง 1.เนื้อหาสาระ 2.ขั้นตอนทำโครงงาน 3.นำเสนอโครงงาน
-ประเมินการทำงานกลุ่ม
2.วิธีการประเมิน
-ทดสอบ
-สังเกต
3.เครื่องมือประเมิน
-แบบประเมินผลงานกลุ่ม
-แบบประเมินตนเอง
-แบบทดสอบ

แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1 ออกแบบและวางโครงร่างการนำเสนอได้
2 อธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบบนหน้าต่างหลักของโปรแกรมนำเสนอข้อมูลได้
3 สร้างสไลด์นำเสนองาน ตกแต่ง แก้ไขข้อมูลในสไลด์และบันทึกสไลด์ที่สร้างขึ้นได้
4 เลือกใช้งานสไลด์ในมุมมองต่าง ๆ ได้
5 กำหนดลักษณะพิเศษเพื่อเพิ่มความสนใจในสไลด์ได้
6 สร้างเอกสารประกอบการบรรยายด้วยโปรแกรมนำเสนอข้อมูลได้
สาระการเรียนรู้
1 ส่วนประกอบของโปรแกรมไมโครชอฟต์เพาเวอร์พอยต์
2 คำสั่งต่างฯของโปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์
3 เทคนิคการสร้างงานเสนอ
กระบวนการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. เตรียมใบงานและใบความรู้เท่าจำนวนนักเรียน
2. ตรวจเช็คความพร้อมของเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการ
3. งานนำเสนอข้อมูลชุด นิทานก่อนนอน
4. อุปกรณ์สำหรับแบ่งกลุ่มผู้เรียน
ขั้นสอน
1. ครูนำเข้าสู่โดยการนำเสนอนิทานก่อนนอน ซึ่งงานนำเสนอที่สร้างโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นความสามารถของโปรแกรมนี้
2. แนะนำจุดประสงค์ของกิจกรรมนี้ ซึ่งจะแนะนำให้รู้จักเครื่องมือที่จะช่วยในการสร้างงานนำเสนอที่น่าสนใจ
3. แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยดำเนินการแบ่งกลุ่มจากประสบการณ์การใช้โปรแกรมไมโครเพาเวอร์พอยต์ที่ผู้เรียนกรอกใบงานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้แต่ละกลุ่มมีผู้เรียนที่มีประสบการณ์อย่างน้อย 1 คน
4. ให้แต่ละกลุ่มทำกิจกรรมดังนี้
กลุ่มที่ 1 ศึกษาข้อมูลเรื่อง กระเหรี่ยง จากห้องสมุด
กลุ่มที่ 2 ศึกษาข้อมูลเรื่อง กระเหรี่ยง จากอินเตอร์เน็ต
กลุ่มที่ 3 ศึกษาข้อมูลเรื่อง กระเหรี่ยง จากบุคคลชาวกระเหรี่ยง
กลุ่มที่ 4 ศึกษาข้อมูลเรื่อง กระเหรี่ยง จากใบความรู้
5. แจกใบงานให้ผู้เรียนทำใบงาน โดยผู้สอนคอยดูแลตอบข้อสงสัย ให้สอบถามผู้สอนทำงานกลุ่มกระตุ้นการเรียนรู้และเปรียบเทียบความเหมือนและแต่ต่างระหว่างโปรแกรมนี้แหละโปรแกรมประมวณคำที่เรียนผ่านมา
ขั้นสรุป
สุ่มผู้เรียนเฉลยคำตอบใบงานโดยเน้นการเปรียบเทียบการทำงานของรายการเลือกและสัญรูปต่างๆในโปรแกรมประมวลคำ
สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
1. ใบความรู้เรื่อง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
2. ใบงานเรื่อง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
3. หนังสือแบบเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ รายวิชางานกราฟิกและการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ของสสวท.
4. เว็บไซต์ oho.ipst.ac.th

วัดประเมินผลการเรียนรู้
1. ตรวจคำตอบจากใบงาน
2. ตรวจจากใบประเมินผลการนำเสนองาน
3. ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้เรียนรายคน
4. ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้เรียนรายกลุ่ม
5. ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้เรียนรายกลุ่มของเพื่อนกลุ่มอื่น
6. แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
7. สังเกตความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของนักเรียน
8. ใช้แบบทดสอบการใช้งานโปรแกรมเพาเวอร์พอยต์

แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความรู้ความเข้าใจ ในการศึกษาลายผ้า โดยมีส่วนประกอบเป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น รูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม และการหาพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง
สาระการเรียนรู้
ศึกษาลายผ้ากะเหรี่ยง
กระบวนการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ซักถามนักเรียนเกี่ยวกับชุดพื้นเมืองของชาวกะเหรี่ยง
2. ซักถามเกี่ยวกับลายที่นำมาทอเป็นชุดของกะเหรี่ยง
ขั้นสอน
1. ให้นักเรียนค้นคว้าลายผ้าของชุดกะเหรี่ยงว่ามีแบบใดบ้าง
2. ให้นักเรียนศึกษาลายผ้าของชุดกะเหรี่ยงว่าประกอบไปด้วยรูปเรขาคณิตใดบ้าง
3. ให้นักเรียนหาพื้นที่ของลายแต่ละลายว่าได้เท่าใดบ้าง
ขั้นสรุป
ให้นักเรียนช่วยกันสรุปถึงประโยชน์ของการหาพื้นที่ลายผ้า
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1.ในเวปไซต์ของอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
2. ในหมู่บ้าน หรือ ตามญาติพี่น้อง ผู้สูงอายุ
การวัดประเมินผลการเรียนรู้
ความถูกต้องจากการคิดคำนวณ
การแสดงวิธีทำการหาพื้นที่ของลายผ้า
การแสดงความคิดเห็นจากเพื่อนในห้องเรียน

แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ กลุ่มสาระศิลป

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. มีความรู้ความเข้าใจในท่ารำแม่บทกะเหรี่ยง
2. นำไปใช้เรื่องท่ารำได้อย่างถูกต้อง
3. นำไปแสดงในงานพิธีต่าง ๆ ของประเพณีวัฒนธรรมได้
สาระการเรียนรู้
1. รำแม่บทได้อย่างน้อย 4 ท่ารำ
2. รำในงานสู่ขวัญ เรียกขวัญ
3. เล่นดนตรีประกอบท่ารำได้อย่างน้อย 1 เครื่อง
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ถามนักเรียนว่าเคยได้เห็นการรำในภาคต่าง ๆ หรือไม่เช่นในภาคอีสานมีเซิ้ง ภาคเหนือมีฟ้อน ภาคใต้มีหนังตะลุง ภาคกลางมีเพลงเกี่ยวข้าว รำตัด แล้วของชาวไทยภูเขากะเหรี่ยงมีการแสดงรำกะเหรี่ยงและเปิดเพลงในแต่ละภาคให้นักเรียนฟัง
ขั้นสอน
2. ครูเปิดเพลงชาวกะเหรี่ยง แล้วให้นักเรียนแบ่งกลุ่มฝึกท่ารำตามแม่บท โดยครูเปิดวีดีทัศน์ประกอบการสอนให้นักเรียนรำตาม โดยดูทีละท่า แล้วให้ฝึกรำพร้อมกัน อาจแบ่งเด็กเป็นกลุ่มที่รำแล้วเป็นกลุ่มนำ ใหกลุ่มที่รำไม่เป็นทำตามไปที่ละท่าอย่างช้า ๆ
ขั้นสรุป
3. นักเรียนในแต่ละกลุ่มทำตามท่ารำได้ โดยมีข้อซักถามในท่ารำที่ไม่เข้าใจ ในท่ารำพื้นฐานท่าที่ 1-2 นักเรียนทำตามได้ แต่ในท่ารำที่ยากเพิ่มขึ้น จะมีนักเรียนในกลุ่มที่รำได้อยู่ก่อนแล้วที่ทำได้
การประเมิน
1. ครูสังเกตนักเรียนให้ความร่วมมือในการรำมากน้อยเท่าไร
2. ใช้แบบประเมินในแต่ละท่ารำ
3. ประเมินในด้านความรู้นักเรียนร้อยละ 80 ในแต่ละท่ารำ
4. ประเมินนักเรียนร้อยละ 80 เห็นคุณค่าความสำคัญของประเพณีรำกะเหรี่ยง
5. ประเมินนักเรียนร้อยละ 70 รำได้อย่างถูกต้อง มีผิดและแก้ไขไปบ้างแล้ว
สื่อแหล่งเรียนรู้ ICT
1. สื่อบุคคลเชิญวิทยากรท้องถิ่นมารำสาธิตให้นักเรียนดู
2. สื่อสถานที่ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มไปเยี่ยมชมหมู่บ้านกะเหรี่ยง
3. สื่อวัตถุ/เอกสาร ใบงานและแบบประเมินผลท่ารำหนังสือท่ารำแม่บทของแต่ละหมู่บ้านกะเหรี่ยง
4. สื่อ ICT วีดิทัศน์ ประกอบท่ารำกะเหรี่ยง
5. ซีดี เพลงพื้นเมืองการรำกะเหรี่ยง

แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการออกกำลังกาย เกม และการละเล่นยามว่างของชาวกะเหรี่ยง
2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อย และมีทักษะในการป้องกันโรค
สะระการเรียนรู้
1. การออกกำลังกาย เกม และการละเล่นยามว่างของชาวกะเหรี่ยง
2. โรคที่พบบ่อย ในชุมชนชาวกะเหรี่ยง
กระบวนการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1
ขั้นนำ
1. สำรวจรายชื่อ เครื่องแต่งกาย
2. แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 6 กลุ่มเท่า ๆ กัน
3. อบอุ่นร่างกายโดยการวิ่งเหยาะ ๆ แล้วทำกายบริหารโดยให้นักเรียนแต่ละกุล่มส่งตัวแทนมานำกลุ่มละ 3 ท่า
4. ทดสอบก่อนเรียน
5. แจ้งสาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ขั้นสอน
1. ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ว่า ชาวกะเหรี่ยงมีการออกกำลังกาย เกม และการละเล่นอะไรบ้าง
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำกิจกรรมในข้อ 1 บันทึกลงในสมุด
3. ให้แต่ละกลุ่มสาธิต พร้อมอภิปราย เกี่ยวกับการออกกำลังกาย เกม และการละเล่นของชาวกะเหรี่ยง
ขั้นสรุป
1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุป ซักถาม
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปสืบค้นเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เกม และการละเล่นของชาวกะเหรี่ยง จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน วิทยากรท้องถิ่น เพิ่มเติม และนำเสนอในชั่วโมงต่อไป


ชั่วโมงที่ 2
ขั้นนำ
1. สำรวจรายชื่อ เครื่องแต่งกาย
2. แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 6 กลุ่มเท่า ๆ กัน
3. อบอุ่นร่างกายโดยการวิ่งเหยาะ ๆ แล้วทำกายบริหารโดยให้นักเรียนแต่ละกุล่มส่งตัวแทนมานำกลุ่มละ 3 ท่า
4. ทดสอบก่อนเรียน
5. แจ้งสาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ขั้นสอน
1. ครูและนักเรียนทบทวนเนื้อหาในชั่วโมงเรียนที่ผ่านมา
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม สาธิต การออกกำลังกาย เกม และการละเล่นยามว่างของชาวกะเหรี่ยงเพิ่มเติมจากการไปสืบค้นจากแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน
ขั้นสรุป
1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
2. นัดหมายการเรียนในชั่วโมงต่อไป

ชั่วโมงที่ 3
ขั้นนำ
1. สำรวจรายชื่อ เครื่องแต่งกาย
2. แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 6 กลุ่มเท่า ๆ กัน
3. อบอุ่นร่างกายโดยการวิ่งเหยาะ ๆ แล้วทำกายบริหารโดยให้นักเรียนแต่ละกุล่มส่งตัวแทนมานำกลุ่มละ 3 ท่า
4. ทดสอบก่อนเรียน
5. แจ้งสาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ขั้นสอน
1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันค้นคว้าเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ กลุ่มละ 1 โรค โดยกำหนดหัวข้อต่อไปนี้
1.1 สาเหตุของโรค
1.2 อาการของโรค
1.3 วิธีป้องกันรักษา
2. ให้นักเรียนนำเสนอหน้าชั้นเรียน 3 กลุ่ม
ขั้นสรุป
1. ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
2. นัดหมายการเรียนในชั่วโมงต่อไป


ชั่วโมงที่ 4
ขั้นนำ
1. สำรวจรายชื่อ เครื่องแต่งกาย
2. แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 6 กลุ่มเท่า ๆ กัน
3. อบอุ่นร่างกายโดยการวิ่งเหยาะ ๆ แล้วทำกายบริหารโดยให้นักเรียนแต่ละกุล่มส่งตัวแทนมานำกลุ่มละ 3 ท่า
4. ทดสอบก่อนเรียน
5. แจ้งสาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ขั้นสอน
1. ให้นักเรียนกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
2. ทำแบบทดสอบหลังเรียน

การประเมินผล
1. ผลการปฏิบัติ
2. ความรู้ความเข้าใจ
3. กระบวนการกลุ่ม
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียนสุขศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
3. วิทยากรท้องถิ่น

แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเพณีกินข้าวห่อของชาวกะเหรี่ยงเป็นภาษาอังกฤษได้
2. สามารถบอกคำศัพท์ที่เป็นภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงได้
สาระการเรียนรู้
1. ประเพณี
2. วัฒนธรรม
3. คำศัพท์
กระบวนการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับประเพณีและเทศกาลต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
2. ให้นักเรียนสนทนาเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นว่ามีอะไรบ้างที่นักเรียนพบเห็นแล้วช่วยกันสรุปเป็นข้อ ๆ
ขั้นสอน
1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งกลุ่มเท่า ๆ กัน
2. ให้นักเรียนระดมความคิดแล้วสรุปหัวข้อต่าง ๆ ลงไปในใบงานที่ 1 แล้วส่งตัวแทนออกมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน
3. ครูนำรูปเกี่ยวกับขั้นตอนของประเพณีกินข้าวห่อของชาวกะเหรี่ยงมาให้นักเรียนดูและอธิบายคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับขั้นตอนของประเพณีและเครื่องแต่งกายของชาวกะเหรี่ยง
4. ให้นักเรียนไปสอบถามประเพณีการกินข้าวห่อรวมถึงเครื่องแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงในชุมชน
5. ให้นักเรียนจัดกลุ่มระดมความคิดแล้วสรุปลงในใบงานที่ 2 และส่งตัวแทนมาอภิปรายหน้าชั้น
6. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนเรื่องประเพณีการกินข้าวห่อ การแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงเป็นภาษาอังกฤษในใบงานที่ 3
7. ให้นักเรียนมาอภิปรายหน้าชั้นเป็นภาษาอังกฤษ
ขั้นสรุป
1. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปประเพณีการกินข้าวห่อ และเครื่องแต่งกายทั้งภาษาไทยและกะเหรี่ยง
ขั้นประเมินผล
1. ประเมินจากใบงาน
2.ประเมินจากการสังเกตการณ์เรียน

สื่อการเรียนการสอน
1. รูปภาพประเพณีกินข้าวห่อ
2. ชุดเครื่องแต่งกาย
3. บุคลากรท้องถิ่น

การประเมินผล
1. การทำงานกลุ่ม
2. การพูด การเขียน
ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ

เรียนเชิญทุกท่านเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นและตั้งกระทู้ครับ